kplaybet
บาคาร่า
mpkwin
usun
บาคาร่า
บาคาร่า
ผลบอลสด
เว็บตรงออนไลน์
รับติดตั้งตาข่ายกันนก รับรีโนเวท บ้านน็อคดาวน์, ขายบ้านน็อคดาวน์, รับออกแบบบ้านน็อคดาวน์, บ้านสำเร็จรูป โปรโมทเว็บ, รับโฆษณาสินค้า รับติดป้ายโฆษณา ตอกเสาเข็ม, ขายเสาเข็ม, ขายแผ่นพื้น, ปั้นจั่น, รับผลิตเสาเข็ม

รับติดป้ายโฆษณา ไนโตรเจนเหลว รับติดป้ายโฆษณา รับติดป้ายแบนเนอร์, ป้ายโฆษณาราคาถูก รับติดป้ายโฆษณา รับติดป้ายโฆษณา

ดาฟาเบท
Online casino
dnabet
Betworld
dnabet
Betworld
betflik
Sbobet888 ทางเข้า Sbobet
สล็อตเว็บตรง
สล็อตเว็บตรง
สล็อตเว็บตรง
สล็อตเว็บตรง
บาคาร่า
บาคาร่า
คาสิโนออนไลน์
สล็อตออนไลน์
mpk
jokerfun88
fullhouse88
คาสิโน

ผู้เขียน หัวข้อ: ดูแลสุขภาพ: ปวดหัวตรงไหน บอกอะไร (What your headache locations tells you)  (อ่าน 60 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

siritidaporn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 535
    • ดูรายละเอียด

Permalink: ดูแลสุขภาพ: ปวดหัวตรงไหน บอกอะไร (What your headache locations tells you)
อาการปวดหัว (Headaches) เกิดจากโครงสร้างภายในศีรษะที่ไวต่อการรับรู้ถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยที่ทำให้รู้สึกปวดหัว โดยมีสาเหตุจากการทำงานที่ผิดปกติภายในศีรษะ เกิดจากโรค หรือความผิดปกติของโครงสร้างภายใน


ปวดหัวตรงไหน บอกอะไร (What your headache locations tells you)

อาการปวดหัว (Headaches) เกิดจากโครงสร้างภายในศีรษะที่ไวต่อการรับรู้ถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยที่ทำให้รู้สึกปวดหัว โดยมีสาเหตุจากการทำงานที่ผิดปกติภายในศีรษะ เกิดจากโรค หรือความผิดปกติของโครงสร้างภายในหรือภายนอกกะโหลกศีรษะ อาการปวดหัวเกิดจากหลากหลายปัจจัย โดยตำแหน่งของอาการปวดหัวมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุอาการปวดหัวชนิดต่าง ๆ และเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้อง รวมทั้งเพื่อให้สามารถรับมือกับความเจ็บปวด และเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ว่าเมื่อใดควรไปพบแพทย์


อาการปวดหัวและตำแหน่งที่พบได้บ่อย มีกี่ประเภท?

อาการปวดหัวและตำแหน่งที่พบบ่อย ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคร้าย หรือความผิดปกติภายในโครงสร้างของศีรษะ มีดังต่อไปนี้
ปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension-type headache)

ปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension-type headache) เป็นอาการปวดหัวทั้งสองข้างของศีรษะ หรือปวดรัดรอบศีรษะโดยมีสาเหตุจากความเครียด ความวิตกกังวล ความเหนื่อยล้า การอดนอน หรือความโกรธจนนำไปสู่อาการปวดหัว อาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัว เป็นอาการปวดหัวประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด มักมีอาการปวดหัวระดับเล็กน้อยจนถึงปานกลาง โดยมักเริ่มมีอาการปวดแบบปวดบีบหรือปวดแน่นรอบศีรษะ หรือปวดที่บริเวณหน้าผาก ขมับ และหลังศีรษะร้าวไปที่คอ

โดยทั่วไป ผู้ที่มีอาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัว ยังสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เช่น ก้มตัว เดินขึ้น-ลงบันได หรือนอนราบ โดยระยะเวลาในการปวดจะมีอาการตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไปจนถึงปวดต่อเนื่องนานหลายวัน และอาจมีอาการปวดหัวแบบไมเกรนร่วมด้วย อาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัว สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปจากร้านขายยาโดยเภสัชกร


ปวดหัวไมเกรน (Migraine headache)

ปวดหัวไมเกรน (Migraine headache) มักมีอาการปวดหัวข้างเดียว ปวดร้าวไปที่กระบอกตา หน้าผาก ขมับถึงท้ายทอย โดยมีที่มาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองหรือการทำงานของหลอดเลือด กรรมพันธุ์ ฮอร์โมนในเพศหญิงโดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์หรือมีประจำเดือน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่น อากาศร้อน อาหารบางชนิด เช่น อาหารที่มีส่วนผสมของสารกันบูด ยาบางชนิด เช่น ยาขยายหลอดเลือด การอดอาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ

อาการปวดหัวไมเกรนเป็นอาการปวดหัวที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสองรองจากอาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัว โดยเฉพาะในเพศหญิงที่พบได้บ่อยกว่าเพศชาย ผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรนมักมีอาการปวดหัวระดับปานกลางจนถึงรุนแรง โดยมีอาการปวดหัวข้างเดียวแบบตุบๆ ตามจังหวะชีพจร อาจมีอาการไวต่อแสงหรือเสียงที่ทำให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน

โดยทั่วไป ปวดหัวไมเกรนจะมีระยะเวลาการปวดตั้งแต่ 4 ชั่วโมงจนถึง 3 วัน อาการปวดหัวไมเกรนแบบไม่รุนแรงสามารถบรรเทาได้ด้วยยาตามใบสั่งแพทย์ หรือการบำบัดกับผู้ชำนาญการที่โรงพยาบาล โดยการฝึกการควบคุมร่างกายเพื่อสร้างสมดุล (Biofeedback) การฝังเข็ม หรือแม้กระทั่งการฉีดโบท็อกซ์



ปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster headache)

ปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster headache) เป็นอาการปวดหัวข้างเดียวอย่างรุนแรง หรือปวดที่บริเวณกระบอกตาร้าวไปจนถึงขมับ มีอาการปวดหัวแปล๊บๆ หรือหัวปวดตุบๆ เป็นชุด ๆ จนรู้สึกหงุดหงิด กระสับกระส่าย บางรายปวดมากจนน้ำตาไหล น้ำมูกไหล เหงื่อออก หนังตาตก หรือรูม่านตาหดร่วมด้วย อาการปวดหัวคลัสเตอร์เป็นการปวดหัวที่รุนแรงกว่าอาการปวดหัวไมเกรน และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

อาการปวดหัวคลัสเตอร์มีสาเหตุเกิดจากปฏิกิริยาเคมีในสมอง หรือความผิดปกติในการทำงานของระบบประสาทของสมองคู่ที่ 5 รวมถึงเส้นเลือดบริเวณโดยรอบ ส่งผลให้มีอาการปวดหัวเป็นชุด ๆ 1 - 3 ครั้งต่อวันนาน 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือนอาการปวดจึงหายไป อาการปวดหัวคลัสเตอร์สามารถบรรเทาได้ด้วยยาตามใบสั่งแพทย์ และการให้ออกซิเจนที่โรงพยาบาลเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดหัว


ปวดหัวไซนัส (Sinus headache)

ปวดหัวไซนัส (Sinus headache) เป็นอาการปวดทั่วทั้งใบหน้าตามบริเวณโพรงไซนัส เช่น กระบอกตา โหนกแก้ม หน้าผาก ดั้งจมูก มีอาการคัดจมูก มีเสมหะ น้ำมูกไหล เป็นไข้ หรือใบหน้าบวม โดยจะรู้สึกปวดอย่างชัดเจนเมื่อก้มศีรษะ หรือก้มตัว

อาการปวดหัวไซนัส จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ต้นเหตุเพื่อบรรเทาอาการปวด หากสาเหตุของอาการเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราในโพรงไซนัส แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อรา หากอาการปวดไซนัสมีที่มาจากโรคภูมิแพ้ แพทย์จะพิจารณาให้ยาแก้แพ้ที่เกิดจากโรคภูมิแพ้ หรือหากอาการปวดไซนัสเกิดจากการเป็นไข้หวัด แพทย์จะพิจารณาให้ยาลดน้ำมูกเพื่อช่วยลดอาการบวมของไซนัส


ปวดหัวจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน (Hormonal headaches)

ปวดหัวจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน (Hormonal headaches) เป็นอาการปวดหัวข้างเดียว ข้างใดข้างหนึ่งของศีรษะ ช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน นอกจากนี้ การอดนอน ความเครียด รวมถึงผลข้างเคียงจากยาคุมกำเนิดหรือการบำบัดทดแทนฮอร์โมนก็อาจส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายได้เช่นกัน โดยจะมีอาการปวดหัวตุบ ๆ เป็นจังหวะ และมีอาการร่วม เช่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เมื่อยล้า เป็นสิว และจะมีอาการปวดหัวเพิ่มมากขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสง สี เสียงคล้ายอาการปวดหัวไมเกรน

อาการปวดหัวจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน สามารถบรรเทาได้ด้วยยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) โดยควรเริ่มใช้ 2-3 วันก่อนมีประจำเดือนและควรใช้ยาไปตลอดรอบประจำเดือน ทั้งนี้ยาตามใบสั่งแพทย์ เช่น triptans สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนได้เช่นกัน


ปวดหัวจากภาวะร่างกายขาดน้ำ (Dehydration headaches)

ปวดหัวจากภาวะร่างกายขาดน้ำ (Dehydration headaches) เป็นอาการปวดหัวทั่วศีรษะ โดยมีสาเหตุจากภาวะร่างกายขาดน้ำ เนื่องจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอหรือท้องเสียอย่างรุนแรง อาการปวดหัวจากภาวะร่างกายขาดน้ำมีหลายระดับตั้งแต่อาการปวดหัวเล็กน้อยไปจนถึงปวดหัวรุนแรง มีอาการปวดหัวแบบตื้อ ๆ หรือปวดหัวแบบจี๊ด ๆ ไปทั่วศีรษะ อาจปวดที่ตำแหน่งเดียว เช่น ปวดหัวด้านหลัง ปวดหัวด้านหน้า หรือปวดหัวด้านข้าง และมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วม เช่น วิงเวียนศีรษะ มึนงง ปากแห้ง กระหายน้ำ ปัสสาวะสีเข้ม มองเห็นภาพเบลอ และมีอาการเหน็บชาตามร่างกาย

อาการปวดหัวจากภาวะร่างกายขาดน้ำสามารถบรรเทาได้ด้วยการดื่มน้ำเปล่า การจิบผงเกลือแร่ โอ อาร์ เอส (ORS-Oral rehydration salt) การพักผ่อน การประคบเย็นบนศีรษะ และอาจบรรเทาอาการด้วยกลุ่มยาแก้ปวดชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) โดยการแนะนำของเภสัชกร


ปวดหัวต่อเนื่องทุกวัน (New daily persistent headaches: NDPH)

ปวดหัวต่อเนื่องทุกวัน (New daily persistent headaches: NDPH) เป็นอาการปวดหัวทั่วศีรษะแบบไม่ระบุตำแหน่งอย่างกระทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการปวดหัวในระดับเล็กน้อยจนถึงปานกลางต่อเนื่องนานหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน อาการปวดหัวต่อเนื่องทุกวัน (NDPH) มีอาการคล้ายอาการปวดหัวไมเกรน โดยอาจมีสาเหตุเกิดจากการอักเสบภายในโครงสร้างบริเวณรอบศีรษะ การติดเชื้อ เนื้องอกในสมอง หรือปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดที่จำเป็นต้องได้การตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดโดยแพทย์เพื่อแยกโรค มีรายงานการพบผู้ที่มีอาการปวดหัวต่อเนื่องรายวันแบบใหม่ (NDPH) เกิดขึ้นกับผู้ที่เคยเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือผู้ที่มีภาวะลองโควิด (Long COVID) หลังจากที่เคยป่วยด้วยโรคโควิด 19


ปวดหัวเรื้อรังไม่หาย สัญญาณอันตราย ที่ควรรับการตรวจ

อาการปวดหัวส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง การระบุตำแหน่งและประเภทของอาการปวดหัวเป็นกุญแจสำคัญที่จะไปสู่การรักษา
อาการปวดหัวได้อย่างตรงจุด และมีประสิทธิภาพ

แม้อาการปวดหัวส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตรายและสามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวด แต่หากอาการปวดหัวทวีความรุนแรงมากขึ้น ปวดหัวหลังจากที่เคยประสบอุบัติเหตุ หรือได้รับการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ มีอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลันรุนแรงและมีอาการร่วม เช่น เป็นไข้ไม่หายขาด มีอาการคอแข็งเกร็ง เหน็บชาหรือไร้ความรู้สึก รู้สึกสับสน พูดลำบาก หรือมองเห็นภาพเบลอ ควรรีบพบแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางด้านประสาทวิทยาเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการปวดหัวโดยละเอียดและรับการรักษาที่เหมาะสมเพื่อให้อาการปวดหัวหายขาด หรือเพื่อช่วยให้อาการปวดหัวทุเลาเบาคลาย และสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้


ดูแลสุขภาพ: ปวดหัวตรงไหน บอกอะไร (What your headache locations tells you) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.healthyhitech.net/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 05, 2023, 12:34:51 am โดย siritidaporn »